ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแหนบ

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับแหนบ

ความหมายของ “แหนบ” คือ เหล็กสปริงที่ช่วยในการรับน้ำหนักยืดหยุ่นและทำให้เกิดความนิ่มนวลแก่ผู้ใช้รถ ส่วนมากวัตถุดิบที่ใช้ต้องน้ำเข้าจากต่างประเทศ

 

การทำงานของแหนบ

            แหนบ (Leaf spring) ทำงานโดยอาศัยการโค้งงอหรือแอ่นของแผ่นเหล็กสปริงซางโค้งเป็นรูวงรี (semi-ellipse) โดยติดตามแนวยาวกับตัวรถทั้งสองข้างล้อ ล้อละ1ตับ หรือติดขวางกับตัวรถแล้วแต่ผู้ออกแบบ

            แหนบตับ (Multileaf spring) ประกอบด้วยแหนบหลายแผ่นที่มีขนาดความยาวแตกต่างลดหลั่นกันตามลำดับวางซ้อนกันเป็นตับ ตรงกลางมีรูโดยการใช่สกรูยืดให้ทุกๆแผ่นติดกัน เรียกว่า สะดือแหนบ (center bolt) เมื่อล้อเต้นขึ้นลงหรือตกหลุมทำให้แหนบเด้งขึ้นลงตาม ส่วนปลายแหนบก็จะอ้าออกจากกัน เพื่อป้องกันการแยกออกของแผ่นแหนบจึงจำเป็นต้องมีเหล็กรัดแหนบ (rebound clips) หรือที่เรียกว่า “แหนบตัวรัด” ลักษณะของแหนบตัวที่หนึ่งจะมีลักษณะเป็นตัวยางที่ปลายทั้งสองข้างม้วนเป็นวงกลมเรียกว่า “ตัวหู” (spring eyes) เป็นตัวยึดกับโครงรถโดยมีบู๊ชหูแหนบ (bushings) มีหน้าที่ป้องกันหูแหนบสึกเร็ว ซึ่งบู๊ชส่วนมากทำด้วยยางและทองเหลือง ส่วนสลักแหนบ (spring bolts) เป็นตัวยืดตรึงให้แหนบอยู่กับที่และรับแรงทางด้านต่างๆ จากเพลาล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เช่น แรงจากการเบรกทำให้แรงจากเบรกล้อผ่านแหนบเข้าสู่โครงรถ เป็นต้น ส่วนปลายแหนบอีกด้านหนึ่งมีโตงเตงหูแหนบ (spring shankle) เป็นตัวแขวนแหนบเข้ากับเต้าโตงเตงหูแหนบ (shankle bracket) ซึ่งยึดแน่นกับโครงรถ โตงเตงหูแหนบสามารถโยกแกว่งไปแกว่งมาบนเต้าโตงเตง หรือที่เรียกว่า “ตุ๊กตา” ทำให้แหนบสามรถปรับความยาวได้เพราะขณะรับน้ำหนักภาระต่างๆ แหนบจะแอ่นตัวและความยาวเพิ่มขึ้น ขณะที่ล้อลงหลุมแหนบจะฟรีไม่รับน้ำหนัก ความยาวของแหนบจะลดลงเพราะความโค้งของแหนบที่ได้รับการออกแบบไว้ แหนบบางตับจะเพิ่มความแข็งแรงให้กับหูแหนบโดยการม้วนปลายทั้งสองข้างของแผ่นที่สองให้รัดครอบหูแหนบของแผ่นแรกอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า “2 งอ” และถ้าจะให้แข็งแรงมากขึ้นก็ควรเสริมตัวตรงอีก 1ตัว (สำหรับรถใช้บรรทุกหนัก)

 

                                                                     

                                                                     

 

 

 ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแหนบโดยส่วนใหญ่

- ขาดการเอาใจใส่ดูแลสภาพของแหนบตัว

- ไม่มีการซ่อมบำรุงรักษาที่ถูกวิธี

- บรรทุกน้ำหนักเกินขีดจำกัดตลอดเวลาที่ใช้งาน

- มักจะเจอช่างที่แนะนำให้ใช้แหนบที่ราคาถูกเกินไป (หรือแหนบเก่า)

- ใช้งานในพื้นที่ๆ มีความชื้นสูงหรือติดกับน้ำทะเลเป็นประจำ

- เลือกใช้แหนบผิดสเป๊กของรถหรือขนาดของรถ

- นำแหนบไปดัดแปลงผิดวิธีหรือไม่มีความชำนาญเกี่ยวกับแหนบ

- ยังมีคนโดยส่วนใหญ่เข้าใจการทำงานของแหนบผิดอยู่มาก เช่น เวลาแหนบทำงานคนส่วนมากจะมองไม่ออกเพราะแหนบจัดอยู่ในประเภทอุปกรณ์อยู่กับที่จะทำงานด้วยตัวเองเวลาทำงานจะยืดจะหดโดยใช้การโค้งงอช่วยในการทำงาน

 

สาเหตุที่ทำให้แหนบหัก

- บรรทุกเกินน้ำหนักที่มาตรฐานกำหนดไว้

- คุณภาพของแหนบที่ใช้ (เครื่องหมายการค้า)

- อุปกรณ์ช่วยยึดหูแหนบชำรุด

- แหนบหมดสภาพการเป็นสปริง (เหล็กแหนบหมดอายุการใช้งาน)

- อุปกรณ์ยึดแหนบชำรุด เช่น สะดือ สาแหรก และอื่นๆ

- แหนบตัวยึดกัดกร่อนแหนบตัวบนและล่าง

- ขาดการอัดจารบีที่สลักแหนบและบู๊ชแหนบ

- รถตกหล่มแรงๆ ขณะรถวิ่งเร็วและบรรทุกของหนัก

- ความผิดพลาดในการประกอบแหนบของช่าง

- บรรทุกของหนักแล้วจอดอยู่กับที่เป็นเวลานานๆ (ข้ามคืน)

 

 ข้อแนะนำในการบำรุงรักษาและยืดอายุการใช้งานของแหนบ

- อย่าบรรทุกน้ำหนักเกินมาตรฐานกำหนด

- เมื่อเจอทางขรุขระและบรรทุกของหนักควรขับรถให้ผ่านไปโดยช้าๆ

- หลีกเลี่ยงหลุมบ่อระหว่างทางที่ขับรถผ่าน

- เมื่อรถตกหลุดควรหาวิธีการนำรถขึ้นจากหลุมให้ถูกวิธี

- ระหว่างการใช้งานถ้าได้ยินเสียงผิดแกติทางด้านหลังของแหนบควรจอดรถตรวจดู

- อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับแหนบทั้งหมดต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเสมอ

- ถ้ามีอะไรผิดปกติที่เกี่ยวกับแหนบควรตามหรือปรึกษาช่างที่ชำนาญเกี่ยวกับแหนบ

- ถ้าแหนบหักควรเปลี่ยนแหนบที่มีมาตรฐานรับรองจากโรงงานและเชื่อถือได้เท่านั้น

- ห้ามดัดแปลงชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับแหนบด้วยตัวเอง

- ควรตรวจสอบเกี่ยวกับจารบีที่หูแหนบอยู่เสมอเพื่อแหนบจะทำงานได้คล่องตัวขึ้น

 

ข้อแนะนำในการเลือกใช้แหนบ

- เลือกแหนบที่มียี่ห้อ, เบอร์, ขนาด, มาตรฐานโรงงานผลิตที่ประทับตราบนตัวแหนบ

 - แหนบภายใน 1ตับจะมีหลายชั้นหรือชิ้นของแหนบไม่เท่ากันแล้วแต่ผู้ออกแบบตามรุ่นรถ ถ้าแหนบตัวหนึ่งตัวใดหักหรือหักเกิน 1ตัวขึ้นไป ห้ามเปลี่ยนทีละตัวหรือเปลี่ยนเฉพาะตัวที่หักเท่านั้นจะต้องเปลี่ยนทั้งตับ แต่เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจเจ้าของส่วนใหญ่จะเปลี่ยนเฉพาะแหนบตัวที่หักเท่านั้นถ้าแหนบตัวอื่นๆ ยังไม่โทรมเกินไป

 

 

Visitors: 80,976