แหนบ NBK/NPN ต่างกับคู่แข่งอย่างไร?

แหนบ NPN/NBK แตกต่างจากคู่แข่งอย่างไร?

แหนบ NPN/NBK ผลิตภายใต้โรงงานที่มีศักยภาพและมีคุณภาพดีทั้งในประเทศและต่างประเทศอย่างโรงงานบางกอกสปริง โดยมีกระบวนการผลิตและการควบคุมคุณภาพเทียบเท่ากับแหนบ OEM เนื่องจากใช้ไลน์ผลิตร่วมกัน มีการลงบันทึกข้อมูลการผลิตในแต่ละกระบวนการ และสามารถสอบกลับได้กรณีเกิดปัญหาในกระบวนการตั้งแต่เป็นสินค้าสำเร็จรูปจนถึงวัตถุดิบหรือชิ้นส่วนประกอบอื่นที่นำมาใช้ในการผลิตให้กับย่งกี่ ถือเป็นจุดแข็งที่สำคัญของแหนบNPN/NBK และยังมีข้อแตกต่างจากคู่แข่งอีกมากที่เราไม่เคยมองข้ามแม้กระทั่งรายละเอียดเล็กน้อย เพื่อแสดงถึงความใส่ใจทุกขั้นตอนในการผลิตเพื่อให้ได้แหนบคุณภาพมาตรฐาน OEM ที่ดีที่สุด

 

วัตถุดิบที่เลือกใช้

วัตถุดิบที่ใช้ทำแหนบคือเหล็กสปริง (spring steel) ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีโรงงานผลิตเหล็กประเภทนี้ จึงต้องนำเข้าจากต่างประเทศ คุณลักษณะเป็นเหล็กใช้ทำสปริงขดหรือสปริงแผ่น สามารถทนได้ทั้งแรงอัด และแรงดึง, ชุบแข็งได้ดี ดัดขึ้นรูปได้ดี

 

อายุการใช้งาน

            เพื่อตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันของผู้ใช้งาน บริษัท ย่งกี่ ได้ผลิตแหนบคุณภาพมาตรฐานออกมา 2 แบรนด์ คือ  NPN และ NBK เพื่อเลือกให้เหมาะสมกับการใช้งาน

NPN (Nippono) จะได้รับการออกแบบให้มีความโค้งมากกว่า ใช้วัสดุในการผลิตที่เหนือกว่า เหมาะสำหรับการใช้งานที่หนัก สมบุกสมบัน ต้องการความยืดหยุ่นและความแข็งแรงทนทานที่มากกว่า

NBK ใช้วัสดุคุณภาพตามมาตรฐาน OEM ในการผลิต เหมาะสำหรับการใช้งานทั่วไป หรือการออกแบบพิเศษ

ถ้าเลือกใช้แหนบที่ผลิตจากโรงงานที่ได้มาตรฐานและเหมาะสมกับรูปแบบการใช้งาน ก็จะสามารถทำให้แหนบมีอายุการใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

 

ความแตกต่างกันระหว่างแหนบ OEM กับ Aftermarket

2 ข้อนี้ที่แหนบ Aftermarket ไม่มี

1.กระบวนการพ่นสีรองพื้น (Primer Coating)

การพ่นสีรองพื้นหรือสีกันสนิมจะพ่นหลังจากขัดผิว (Shot Peening)แล้ว เพื่อป้องกันการเกิดสนิมรอบบริเวณรอบๆ ผิวของชิ้นงาน ซึ่งต้องพ่นทีละแผ่นให้ทั่วทุกจุด ถ้าหากไม่ทั่วจะทำให้เกิดสนิมตามมาภายหลัง เมื่อพ่นเสร็จแล้วต้องปล่อยให้สีSetตัวประมาณ 8 ชั่วโมง จึงจะสามารถนำไปประกอบตับได้ หลังจากสีนั้นนำไปประกอบตับ ทดสอบน้ำหนัก และพ่นสีดำ

การตรวจสอบและทดสอบสี

1.การวัดความหนาสีทั้งสีรองพื้นและสีดำ

2.การทดสอบการยึดเกาะ

3.การทดสอบแรงกระแทก

การทดสอบความแข็งสี

การทดสอบการทนการกัดกร่อน (Salt Spray Test)

2. การพ่นค่าเครื่องหมาย (Camber Mark)

การพ่นค่าเครื่องหมาย+, 0, - นั้นจะได้จากข้อกำหนดของลูกค้า (Drawing)

2.1 พ่นค่าเครื่องหมาย (Camber Mark) เพื่ออะไร?

ในการประกอบแหนบเข้ากับรถยนต์นั้นจะต้องตรวจสอบค่าเครื่องหมายก่อน เนื่องจากรถยนต์ส่วนใหญ่จะกำหนดให้แหนบทั้งซ้ายและขวาต้องเป็นค่าเครื่องหมายเดียวกัน เช่น ทางซ้าย+ ทางขวา+ เหมือนกัน ถ้าประกอบทั้ง 2 ข้างคนละเครื่องหมายจะส่งผลให้รถเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง แต่ก็มีบางรุ่นที่ถูกออกแบบให้แหนบข้างขวาสูงกว่าข้างซ้ายประมาณ 10 มม. ถึงแม้จะสูงกว่าอย่างไร แต่ก็ต้องจับคู่ค่าเครื่องหมายเหมือนเดิม

3. กระบวนการผลิตที่สำคัญคือ เผา ชุบ อบ (Heat Treatment) 

ค่าความแข็งของแหนบจะสูงหรือต่ำ โครงสร้างภายในจะผ่านหรือไม่ผ่าน จะมีผลกับการรองรับน้ำหนักของตัวรถ ถ้าความแข็งเกินก็มีโอกาสหักได้ง่าย ถ้าอ่อนกว่าก็ไม่เป็นสปริง

Visitors: 80,976